วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ครูมืออาชีพ

ครูมืออาชีพ
1 ครู คือ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอน                                                      
ความเป็นมืออาชีพของครู จึงควรที่จะต้องยึดถือและปฏิบัติให้เกิดความสัมพันธ์กับมาตรฐานของวิชาชีพครู ซึ่งมีความสำคัญและความจำเป็นต่อครูทุกคน ทั้งนี้เนื่องจากกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ ทำให้       มีความจำเป็นที่บุคคลจักต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกระดับ ให้มีความสำนึกต่อบทบาทและภารกิจต่าง ๆ ที่มีต่อสังคมมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พร้อมทั้งกฎระเบียบข้อบังคับและกติกาทางสังคมแห่งยุคประชาธิปไตย เป็นสิ่งบ่งบอกว่าต่อไปนี้ สังคม องค์การ หน่วยงาน และหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ มีความต้องการ ครูมืออาชีพมิใช่เพียงแต่มี อาชีพครูเกิดขึ้นเท่านั้น  “ครูมืออาชีพ” จักต้องมีลักษณะพื้นฐานในตน 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
1.       ครูต้องมี ฉันทะ ต่ออาชีพครู เป็นพื้นฐาน
2.       ครูต้องมีความเมตตา ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน และ
3.       ครูต้องมีความเป็น กัลยาณมิตร พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ 
บทบาทของครูตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ

           ในการประกอบวิชาชีพครู นอกจากจะมีมาตรฐานวิชาชีพครู  เป็นแนวทางการดำเนินงานแล้ว
พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดแนวทางจัดการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานของผู้มีหน้าที่จัดกระบวนการเรียนรู้ไว้ด้วย  ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติ เช่นเดียวกัน ซึ่งมีดังนี้
        1.  จัดการเรียนการสอน  โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตน
เองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด รวมถึงจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักภาพ (ม.22)
        2.   จัดสาระการเรียนรู้  โดยเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และ
บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา กล่าวคือ (ม.23)
                    1)  ความรู้เกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน
ชาติ สังคมโลก รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของสังคมไทย และระบบการเมือง การปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                    2)  ความรู้และทักษะ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ ความเข้าใจและ
ประสบการณ์ เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ  สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
                    3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา  ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์
ใช้ภูมิปัญญา
                   4)  ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
                   5)  ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
        3. จัดเนื้อหาสาระ  และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึง
ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (ม.24 (1) )
       4.  ฝึกทักษะ  กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้  มา
ใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา (ม.24 (2) )
       5.  จัดกิจกรรม  ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็น  ทำ
เป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (ม.24 (3) )
       6.  จัดการเรียนการสอน  โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวม
ทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา (ม. 24(4) )
 
 3พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
       7.  จัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้ และมีความรอบรู้  รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อการเรียนการสอน และวิทยากรประเภทต่าง ๆ (ม. 24(5) )
       8. จัดการเรียนรู้ ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา
ผู้ปกครอง  และบุคลากรในชุมชน ทุกฝ่าย  เพื่อร่วมกันพัฒนาการเรียน  ตามศักยภาพ (ม. 24(6) )
       9.  จัดการประเมินผู้เรียน  โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  ความประพฤติ สังเกตพฤติ
กรรมการเรียน  การร่วมกิจกรรม  และการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา (ม.26)
       10.  จัดทำสาระ ของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชน และสังคม ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นรวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติโดยสาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการและวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคน ให้มีความสมดุล  ทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม (ม.27,28)
        11.  ร่วมกับบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน
องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความ    เข้มแข็งของชุมชน โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษา  อบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยากรต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้        สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การพัฒนา ระหว่างชุมชน (ม.29)
       12.  พัฒนากระบวนการเรียนการสอน ที่มีประสิทธิภาพ และดำเนินการวิจัย เพื่อพัฒนาการ
เรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน แต่ละระดับการศึกษา (ม.30)
        13.  พัฒนาขีดความสามารถ  ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อกาศึกษาของผู้เรียน เพื่อให้มีความรู้
และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยี เพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (ม.66)
14. ปฏิบัติงาน และประพฤติปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ครู (ม.53

ครูมืออาชีพ

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คิดบวก พูดบวก

วันนี้มี ” 10 คำพูด….ของคนคิดบวก ” จาก พลโทนายแพทย์อรุณ เชาวนาศัย อาจารย์ จิตเวชอาวุโสท่านหนึ่งมาฝาก


โลกใบนี้จะน่าอยู่ขึ้นอีกเยอะมาก หากคุณใช้ 10 คำพูด….ของคนคิดบวก ลองนำไปปฏิบัตินะคะ……


1. I’m wrong – ฉันผิดเอง
2. I’m sorry – ฉันขอโทษ
3. You can do it – คุณทำได้!!!
4. I believe in you – ฉันเชื่อมั่นในตัวคุณ
5. I’m proud of you – ฉันภูมิใจในตัวคุณ
6. Thank you – ขอบคุณ
7. I need you – ฉันต้องการคุณ
8. I trust you – ฉันเชื่อใจคุณ
9. I respect you – ฉันนับถือคุณ
10. I love you – ฉันรักคุณ


แด่คำพูดดี ๆ ที่สะท้อนมาจากความคิดอันงดงาม ความคิดด้านบวก
แด่ความคิดดี ๆ ที่อยากให้ผู้อื่นรอบ ๆ มีความสุข

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สุนทรียสนทนา” Bohemian Dialogue

แนวคิดและหลักการเบื้องต้นของสุนทรียสนทนา

หลักการของสุนทรียสนทนาคือ การพูดคุยกันโดยไม่มีหัวข้อ หรือวาระ (agenda) ที่ตายตัวไว้ล่วงหน้า และไม่มีเป้าหมายเพื่อค้นหาข้อสรุปร่วมกัน เพราะจะเป็นการเปิดช่องว่างให้อำนาจเข้ามาชี้นำเข้าหาผลประโยชน์ของตนเอง โดยใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือ คนในวงสนทนาสามารถพูดเรื่องอะไรก็ได้ ถามอะไรขึ้นมาก็ได้ คนในวงสนทนาจะตอบหรือไม่ตอบก็ได้ แต่ก็มิได้หมายความว่า สุนทรียสนทนา เป็นการพูดคุยแบบลมเพลมพัด เหะหะพาที ตลกโปกฮา ตรงกันข้าม พฤติกรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งต้องห้ามในวงสุนทรียสนทนาด้วยซ้ำไป ทั้งนี้เพื่อมิให้อารมณ์แบบสรวลเสเฮอาเหล่านี้ กลายเป็นอุปสรรคต่อความสงบ และรบกวนสมาธิของผู้เข้าร่วมวงสุนทรียสนทนา